สิงหนครวิทยานุสรสณ์ Singhanakhon Wittaya nusorn
โรงเรียนธรรมชาติ Nature School
การทำแผนที่ความสามารถพิเศษ Talent Mapping :
Talents Mapping ใช้เพื่อระบุจุดแข็งของแต่ละบุคคลโดยพิจารณาจากการค้นพบผู้มีความสามารถ การผสมผสานเข้ากับทักษะและความรู้ เป็นสิ่งจำเป็นมากในโลกแห่งการทำงาน และสามารถระบุตำแหน่งและโปรไฟล์ความสามารถที่ต้องการได้ โปรแกรมแผนที่ความสามารถพิเศษประกอบด้วยการวัดผลและคำชี้แจงจุดแข็งส่วนบุคคล
กระบวนทัศน์ธรรมชาติเชื่อว่าพรสวรรค์เกิดขึ้นตั้งแต่ 60 วันก่อนมนุษย์เกิดจนถึงอายุ 16 ปี และเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นที่รู้กันว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถหรืออุปนิสัยที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้น แทนที่จะเสียเวลาไปกับการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงจุดอ่อน จะดีกว่าถ้าเรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาจุดแข็งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและเอาชนะจุดอ่อนที่มีอยู่
โรงเรียนสิงหนครวิทยานุสรณ์ อำนวยความสะดวกให้นักเรียนทุกคนเสริมสร้างความสามารถของตนเอง โดยเฉพาะในด้านธุรกิจ ด้วยการทดสอบ Talent Mapping ซึ่งจะดำเนินการในปีแรกในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 แน่นอนว่าการเสริมกำลังจะมีความแม่นยำมากขึ้นด้วยประวัติของนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลและประถมศึกษา
ปัจจุบันมีหลายวิธีในการสร้างผู้มีความสามารถผ่านแนวทางการขาด (Deficit approach) กล่าวคือ การมองหาจุดอ่อนของบุคคลแล้วพยายามปรับปรุงจุดอ่อน เพื่อหวังให้บุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถให้ผลการปฏิบัติงานตามที่คาดหวังได้ ในบางกรณีแนวทางนี้ค่อนข้างดี แต่ในหลายกรณีก็ไม่เหมาะสมและหลายฝ่ายรู้สึกได้ เนื่องจากการเรียนรู้ที่มอบให้ไม่มีผลกระทบต่อการเพิ่มความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของบุคคลในชีวิตอย่างแน่นอน
(Deficit approach) คือมองว่าปัญหาเกิดจากการ ขาดคน ขาดเงิน ขาดของ ขาดเพื่อนร่วมงานที่ดี ขาดหัวหน้าที่เข้าใจ และ ขาดอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมักทำให้เราท้อถอยหรือท้อแท้
ดั่งนั้นการทำแผนที่ความสามารถพิเศษนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ แนวทางจุดแข็ง Strengths Approach
ซึ่งมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของบุคคล ไม่ใช่จุดอ่อนของพวกเขา เชื่อว่าแนวทางจุดแข็งจะช่วยเพิ่มผลผลิตของบุคคลและเพิ่มบรรยากาศเชิงบวกของกลุ่ม เนื่องจากเป็นการชื่นชมและใช้จุดแข็งของบุคคล และทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมีภาพลักษณ์ของตนเองดีขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าสนับสนุนให้เขาทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ . และในกลุ่ม แนวทางประเภทนี้จะสร้างการสื่อสารที่ดีขึ้น การทำงานร่วมกันสูงสุด บรรยากาศเชิงบวกมากขึ้น และแน่นอนว่าผลลัพธ์สูงสุด
การไปมุ่งค้นหาว่าตัวเองบกพร่องผิดปกติอะไรอาจทำให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ไม่ได้จะมาบอกว่าให้คุณเพิกเฉยไม่ทำอะไรกับอาการที่เกิดขึ้น แต่จะมาชวนให้คุณทำสิ่งที่ต่างไปจากเดิมคือเปลี่ยนจากการไปโฟกัสที่ความบกพร่องผิดปกติ เป็นการมองหาศักยภาพหรือทรัพยากรภายในที่มีอยู่ในตัวบุคคลแทน ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Strength-Based Approach”
Strength-Based Approach มีพื้นฐานแนวคิดว่าตัวบุคคลคือปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีความคิดและอารมณ์เป็นตัวแปรสำคัญ แนวคิดนี้จึงสนับสนุนให้บุคคลมองเห็นศักยภาพหรือข้อดีของตัวเองมากกว่าที่จะโฟกัสกับข้อบกพร่องซึ่งเป็นการมองตัวเองในเชิงลบ
เมื่อกล่าวแบบนี้ก็คงเดาได้ไม่อยากว่า Strength-Based Approach เป็นแนวคิดที่อยู่ในกลุ่มของจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) และเป็นแนวคิดพื้นฐานของการช่วยเหลือแบบ Strength-Based therapy หรือ Strength-Based counseling
ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้แปลความหมายของ Strength-Based counseling เอาไว้ว่า “การให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน” ภายใต้ปรัชญาว่า “เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขจุดอ่อน แต่เป็นเรื่องง่ายมากกว่าหากเราเสริมจุดแข็งเพื่อให้ใช้งานได้มากขึ้น” ซึ่งความเข้มแข็งที่กล่าวถึงนั้นมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
-
ด้านความคิด วิธีการมองโลกของบุคคล
-
ด้านสัมพันธภาพ หรือกำลังใจจากคนรอบข้าง
-
ด้านความสามารถ วิธีการผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขปัญหาของบุคคล
เป้าหมายของการให้ความช่วยเหลือโดยใช้ Strength-Based Approach เป็นพื้นฐาน
-
ส่งเสริมให้บุคคลมีกรอบความคิดหรือทัศนคติทางจิตใจในทางที่ดีขึ้น
-
ปลูกฝังให้เกิดมุมมองทางบวกต่อโลกซึ่งจะช่วยให้บุคคลมองตัวเองในทางบวกตามไปด้วย
-
เอื้อให้บุคคลมองเห็นศักยภาพและทรัพยากรภายในของตัวเอง
-
ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยอะไรที่ถ่วงรั้งการเติบโตงอกงาม (personal growth) ของบุคคล
ประโยชน์ของการให้ความช่วยเหลือโดยใช้ Strength-Based Approach เป็นพื้นฐาน
การปรับมุมมองจาก “บุคคลมีอะไรบกพร่องที่ต้องแก้ไขรักษา” เป็น “บุคคลมีทรัพยากรอะไรที่สามารถดึงออกมาใช้ได้” ผ่านการให้ความช่วยเหลือแบบ Strength-Based ที่เป็นการให้คำปรึกษาหรือการทำจิตบำบัดจะช่วยให้เกิด resilience ซึ่ง resilience เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคหรือแม้แต่วิกฤตที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
โดยไม่ได้เป็นการสร้างทักษะใหม่แต่เป็นการชี้ชวนและขยายโฟกัสให้บุคคลมองเห็นจุดแข็งหรือทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนจึงไม่เคยดึงมันมาใช้ และหากพิจารณาองค์ประกอบของความเข้มแข็งทั้ง 3 ด้านที่กล่าวไปในข้างต้นก็จะพบว่ามันก็คือองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านของ resilience ได้แก่ I am, I have และ I can
Strengths-Based Therapy เหมาะกับใครบ้าง
Strengths-Based Therapy เป็นรูปแบบการบำบัดที่เหมาะกับผู้ที่มี self-esteem ต่ำ มีปัญหาเรื่องความวิตกกังวล มีอารมณ์หดหู่ซึมเศร้า มีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ครู หรือสมาชิกในครอบครัว บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น รวมไปถึงการแนะแนวอาชีพ (career counseling) ก็สามารถนำหลักการแบบ Strengths-Based มาใช้ได้เช่นกัน
ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้ใน Strength-Based Therapy
-
แสดงให้เห็นว่าจุดแข็งคืออะไร เป็นอย่างไร โดยอาจจะมีลิสต์ของจุดแข็งรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้รับบริการดูเป็นตัวอย่าง
-
มองหาจุดแข็งของผู้รับบริการ (นักเรียน) โดยอาจจะใช้คำถามนำ เช่น “คุณชอบอะไรในตัวเองบ้าง” “ข้อดีของคุณมีอะไรบ้าง”
-
ใช้การ Re-Framing โดยชวนให้ผู้รับบริการ (นักเรียน) คิดหรือมองสถานการณ์ด้วยมุมมองแบบใหม่
-
ให้ผู้รับบริการเขียนจุดแข็งของตัวเองออกมาเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
-
ใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบ Strengths Growth Questions เช่น “คุณใช้วิธีอะไรในการผ่านปัญหาใหญ่ ๆ ของชีวิตมาได้”
อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือโดยใช้ Strength-Based Approach เป็นพื้นฐานก็มีสิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ การมองแง่บวกที่เป็นพิษ (toxic positivity) เนื่องจากวิธีการแบบ Strength-Based จะมุ่งเน้นมองหาจุดแข็งและชวนคิดในทางบวก แต่หากโฟกัสในทางบวกอย่างไม่สมเหตุสมผลหรือไม่สอดคล้องความจริงก็อาจจะกลายเป็นการมองแง่บวกที่เป็นพิษได้